เมนู

บทว่า สมฺพหุลา มีความว่า โดยบรรยายแห่งพระวินัย ภิกษุ 3 รูป
เรียกว่า ภิกษุเป็นอันมาก เกินกว่านั้นเรียกว่า สงฆ์ โดยบรรยายแห่พระสูตร
ภิกษุ 3 รูป คงเรียกว่า 3 รูปนั่นแล, ตั้งแต่ 3 รูปขึ้นไป จึงเรียกว่า ภิกษุ
เป็นอันมาก. ภิกษุเป็นอันมากในที่นี้พึงทราบว่า มากด้วยกัน โดยบรรยายแห่ง
พระสูตร.
ชนทั้งหลาย ที่ไม่คุ้นเคยกันนัก คือไม่ใช่มิตรที่สนิท ท่านเรียกว่า
เพื่อนเห็น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น ท่านเรียกว่า เพื่อนเห็น เพราะได้พบเห็น
กันในที่นั้น ๆ. ชนทั้งหลายที่คุ้นเคยกัน คือเป็นเพื่อนสนิท ท่านเรียกว่า
เพื่อนคบ. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น คบกันแล้วคือกำลังคบกันเป็นอย่างดี ท่าน
เรียกว่า เพื่อนคบ เพราะทำความสนิทสมโภคและบริโภคเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า อิสิคิลิปสฺเส มีความว่า ภูเขาอิสิคิลิ ที่ข้างภูเขานั้น.
ได้ยินว่า ครั้งดึกดำบรรพ์ พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณ 500 องค์ เที่ยวไป
บิณฑบาตในชนบททั้งหลาย มีกาสีและโกสลเป็นต้น เวลาภายหลังภัตประชุม
กันที่ภูเขานั้น ยังกาลให้ล่วงไปด้วยสมาบัติ. มนุษย์ทั้งหลาย เห็นท่านเข้าไป
เท่านั้น ไม่เห็นออก, เพราะเหตุนั้น จึงพูดกันว่า ภูเขานี้ กลืนพระฤาษีเหล่านี้.
เพราะอาศัยเหตุนั้น ชื่อภูเขานั้น จึงเกิดขึ้นว่า อิสิคิลิ ทีเดียว. ที่ข้างภูเขานั้น
คือ ที่เชิงบรรพต.

[

ภิกษุจำพรรษาไม่มีเสนาสนะปรับอาบัติทุกกฏ

]
อันภิกษุผู้จะจำพรรษา แม้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระนาลกะก็ต้องจำ
พรรษาในเสนาสนะพร้อมทั้งระเบียง ซึ่งมุงด้วยเครื่องมุง 5 อย่าง ๆ ใดอย่าง
หนึ่งเท่านั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุผู้ไม่มีเสนาสนะ ไม่พึงจำพรรษา ภิกษุใดจำ ภิกษุนั้น ต้องทุกกฏ.* เพราะ
//* วิ มหา. 4/299.

ฉะนั้น ในฤดูฝน ถ้าไม่มีเสนาสนะ การที่ได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้
ต้องแสวงหาหัตถกรรมทำ เมื่อไม่ได้หัตถกรรม ควรทำเอาแม้เอง. ส่วนภิกษุ
ผู้ไม่มีเสนาสนะไม่ควรเข้าจำพรรษาเลย. ข้อนี้เป็นธรรมอันสมควร. เพราะ
เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงทำกุฎีหญ้ากำหนดที่พักกลางคืนและกลางวันเป็นต้น
ไว้แล้ว อธิษฐานกติกาวัตรและขันธกวัตร ศึกษาในไตรสิกขา อยู่จำพรรษา.
สองบทว่า อายสฺมาปิ ธนิโย มีความว่า ไม่ใช่แต่พระเถระเหล่า
นั้นอย่างเดียว แม้ท่านพระธนิยะ ซึ่งเป็นต้นบัญญัติแห่งสิกขาบทนี้ ก็ได้ทำ
เหมือนกัน.
บทว่า กุมฺภการปุตฺโต คือ เป็นบุตรของช่างหม้อ, จริงอยู่ คำว่า
ธนิยะ เป็นชื่อของเธอ แต่บิดาของเธอ เป็นช่างหม้อ; ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า พระธนิยะ บุตรช่างหม้อ.
สองบทว่า วสฺสํ อุปคญฺฉิ ความว่า พระธนิยะ ทำกุฎีหญ้าแล้ว
ก็อยู่จำพรรษาในที่แห่งเดียวกันกับพระเถระเหล่านั้นนั่นเอง.
สองบทว่า วสฺสํ วุฏฺฐา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นเข้าจำพรรษาในวัน
ปุริมพรรษาแล้วปวารณาในวันมหาปวารณาตั้งแต่วันปาฏิบทแล้ว (แรม 1 ค่ำ)
ไป ท่านเรียกว่า ผู้ออกพรรษาแล้ว. เป็นผู้ออกพรรษาแล้วด้วยวิธีอย่างนั้น.
สองบทว่า ติณกุฏิโย ภินฺทิตฺวา มีความว่า ภิกษุเหล่านั้นหาได้
ทำลายกุฎีให้เป็นจุณวิจุณด้วยการประหารด้วยไม้ค้อนเป็นต้นไม่ แต่ได้รื้อหญ้า
ไม้และเถาวัลย์เป็นต้นออกเสีย ด้วยระเบียบวัตร. จริงอยู่ ภิกษุใด ได้ทำกุฎี
ไว้ในที่สุดแดนวิหาร ภิกษุนั้น ถ้าพวกภิกษุเจ้าถิ่นมีอยู่ ก็ควรบอกลาภิกษุเจ้า
ถิ่นเหล่านั้น พึงกล่าวว่า ถ้าภิกษุรูปใดสามารถจะดูแลกุฎีนี้อยู่ได้ ขอท่านจง
มอบให้แก่เธอรูปนั้นนั่นแหละ ดังนี้แล้วจึงหลีกไป. ถ้าภิกษุใด ทำกุฎีไว้ใน

ป่าหรือไม่ได้รักษา ภิกษุนั้นคิดว่า เสนาสนะจักเป็นของบริโภคแก่ภิกษุแม้เหล่า
อื่น ควรเก็บงำเสีย จึงไป. อธิบายว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น สร้างกุฎีไว้ในป่าแล้ว
เมื่อไม่ได้ผู้รักษาเก็บงำ คือรวบรวมหญ้าและไม้ไว้. อนึ่งหญ้าและไม้ที่เก็บไว้
แล้ว สัตว์ทั้งหลายมีปลวกเป็นต้นจะกัดไม่ได้ ทั้งฝนก็จะรั่วรดไม่ได้ โดยประ
การใด ก็ควรเก็บไว้โดยประการนั้น ควรบำเพ็ญคมิกวัตรให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า
หญ้าและไม้นั้น จักเป็นอุปการะแก่เพื่อนสพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มาถึงสถานที่นี้
แล้วประสงค์จะอยู่ ดังนี้ จึงควรหลีกไป
สองบทว่า ชนปทาจาริกํ ปกฺกมึสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นได้
ไปยังชนบทตามความชอบใจของตน ๆ คำเป็นต้นว่า ท่านพระธนิยะ กุมภ-
การบุตร อยู่จำพรรษาที่เชิงเขาคิชฌกูฏนั้นนั่นเอง มีเนื้อความชัดเจนทีเดียว.
บทว่า ยาวตติยกํ แปลว่า ถึง 3 ครั้ง
บทว่า อนวโย แปลว่า เป็นผู้ไม่บกพร่อง. ลบ อุ อักษรเสีย
ด้วยอำนาจสนธิ. อธิบายว่า เป็นผู้มีศิลปะบริบูรณ์ไม่บกพร่องในการทำงานทุก
อย่าง ที่พวกช่างหม้อจะพึงทำ.
บทว่า สเก แปลว่า ของ ๆ ตน.
บทว่า อาจริยเก แปลว่า ในการงานแห่งอาจารย์.
บทว่า กุมฺภการกมฺเม แปลว่า ในการงานของพวกช่างหม้อ.
อธิบายว่า ในการงานอันพวกช่างหม้อพึงทำ. ด้วยบทว่า กุมฺภการกมฺเม
นั้น เป็นอันท่านธนิยะแสดงถึงการงาน แห่งอาจารย์ของตน โดยสรูป.
บทว่า ปริโยทาตสิปฺโป คือ ผู้สำเร็จศิลปะ มีคำอธิบายว่า
แม้เมื่อเราไม่มีความบกพร่อง เราก็เป็นผู้มีศิลปะจะหาคนอื่นทัดเทียมไม่ได้.

บทว่า สพฺพมตฺติกามยํ มีความว่า ท่านธนิยะนั้น ทำเครื่องเรือน
ที่เหลือทั้งหมด มีประเภทคือฝา อิฐมุงและเครื่องไม้เป็นต้นให้สำเร็จด้วยดินทั้ง
นั้น ยกเว้นเพียงกรอบเช็ดหน้า ประตูลิ่มสลักลูกดาล และบานหน้าต่าง.
หลายบทว่า ติณญฺจ กฏฺฐญฺจ โคมยญฺจ สงฺกฑฺฒิตฺวา ตํ
กุฏิกํ ปจิ
มีความว่า ท่านธนิยะทำเครื่องเรือนให้สำเร็จด้วยดินล้วน แล้ว
ขัดถูด้วยฝ่ามือ ทำให้แห้ง แล้วเอาดินแดงผสมด้วยน้ำมันโบกทาให้เกลี้ยงเกลา
ครั้นแล้วจึงบรรจุ ทั้งภายในและภายนอกให้เต็มด้วยหญ้าเป็นต้นแล้วเผากุฎีนั้น
โดยวิธีที่ดินจะเป็นของสุกปลั่งด้วยดี. ก็แลกุฎีนั้น ได้เป็นของเผาแล้วด้วย
อาการอย่างนั้น.
บทว่า อภิรูปา แปลว่า มีรูปสวยงาม.
บทว่า ปาสาทิกา แปลว่า ชวนให้เกิดความเลื่อมใส.
บทว่า โลหิตกา แปลว่า มีสีแดง.
บทว่า กึกิณิกสทฺโท ได้แก่ เสียงข่ายกระดึง. ได้ยินว่า ข่ายกระ
ดึงที่เขาทำด้วยกระรัตนะต่างๆ ย่อมมีเสียง ฉันใด กุฎีนั้น ก็มีเสียงฉันนั้นเพราะ
ถูกลมที่พัดเข้าไปโดยช่องบานหน้าต่างเป็นต้นกระทบแล้ว. ด้วยบทว่า กึกิณิ-
กสทฺโท
นั้น เป็นอันท่านแสดงถึงข้อที่กุฎีนั้นสุกปลั่งทั้งภายในและภายนอก.
ส่วนในมหาอรรกถา ท่านกล่าวไว้ว่า ภาชนะสำริด ชื่อว่า กึกิณิกะ; เพราะ
ฉะนั้น ภาชนะสำริดที่ถูกลมกระทบแล้ว มีเสียง ฉันใด กุฎีนั้น ถูกลมกระทบ
แล้ว ได้มีเสียง ฉันนั้น.
ในคำว่า กึ เอตํ ภิกฺขเว นี้ พึงทราบว่าวินิจฉัยดังนี้: - พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงทราบอยู่ทีเดียว เพื่อจะทรงตั้งเรื่องนั้น จึงได้ตรัสถาม.

หลายบทว่า ภควโต เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย
ได้กราลทูลข้อที่พระธนิยะทำกุฎีเสร็จด้วยดินล้วน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าตั้ง
แต่ต้น.
คำว่า กริสฺสติ นี้ ในประโยคว่า ภิกษุทั้งหลาย ! ไฉนโมฆบุรุษนั้น
จึงได้ขยำโคลนทำกุฎีสำเร็จด้วยดินล้วนเล่า ? เป็นคำอนาคตลงในอรรถอดีต.
มีคำอธิบายว่า ได้ทำแล้ว. ลักษณะแห่งการกล่าวกิริยาอนาคตลงในอรรถอดีต
นั้น ผู้ศึกษาควรแสวงหาจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
ในคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่
เบียดเบียนมิได้มีแก่โมฆบุรุษนั้นเลย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้: -
ความตามรักษา ชื่อ อนุทยา พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมแสดงส่วน
เบื้องต้นแห่งเมตตาด้วยบทว่า อนุทยา นั้น.
จิตไหวตาม เพราะทุกข์ของผู้อื่น ชื่อว่า อนุกัมปา. ความไม่ห้ำหั่น
ชื่อว่า อวิเหสา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา
ด้วยสองบทว่า อนุกัมปา และ อวิเหสา นั้น. พระองค์ตรัสคำอธิบายไว้ดัง
นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพระธนิยะโมฆบุรุษนั้นเบียดเบียน คือ ทำ
สัตว์ใหญ่น้อยเป็นอันมากให้พินาศไปอยู่ เพราะขุดดิน ขยำโคลนและติดไฟเผา
ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่เบียดเบียน แม้เป็นเพียงส่วนเบื้องต้น
แห่งเมตตาและกรุณาในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า มิได้มีเลย คือความเอ็นดู
เป็นต้น ชื่อแม้มีประมาณน้อยก็มิได้มี.
หลายบทว่า มา ปจฺฉิมา ชนตา ปาเณสุ ปาตพฺยตํ อาปชฺชติ
มีความว่า หมู่ชนชั้นหลัง อย่าถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์เลย. มีคำอธิบายว่า
หมู่ชนชั้นหลังสำเหนียกว่า แม้ในครั้งพุทธกาล ภิกษุทั้งหลายได้ทำกรรมอย่างนี้

แล้ว เมื่อภิกษุทำปาณาติบาตอยู่ในสัตว์ทั้งหลาย ในฐานะเช่นนี้ ก็ไม่มีโทษ
ดังนี้ เมื่อจะเจาะเอาพระเถระนี้เป็นทิฏฐานุคติ อย่าได้สำเหนียกกรรมที่จะพึง
เบียดเบียน คือ ทรมานหมู่สัตว์ เหมือนอย่างพระเถระทำแล้วนั้นเลย.

[

ปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้สร้างกุฎีด้วยดินล้วน

]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงตำหนิพระธนิยะอย่างนั้นแล้ว จึงทรง
ห้ามการทำกุฎีเช่นนั้นต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อันภิกษุไม่ควรทำกุฎีสำเร็จ
ด้วยดินล้วน ก็แล ครั้นทรงห้ามแล้ว จึงทรงปรับอาบัติไว้ เพราะการทำกุฎี
สำเร็จด้วยดินล้วนว่า ภิกษุใด พึงทำ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ. เพราะเหตุ
นั้น ภิกษุแม้รูปใด เมื่อยังไม่ถึงความเบียดเบียนหมู่สัตว์ เพราะกิจมีการขุดดิน
เป็นต้น ทำกุฎีเช่นนั้น ภิกษุแม้รูปนั้น ย่อมต้องทุกกฏ. แต่ภิกษุผู้ถึงความ
เบียดเบียนหมู่สัตว์ เพราะกิจมีการขุดดินเป็นต้น ย่อมต้องอาบัติที่ท่านปรับ
ไว้ตามวัตถุที่ตนล่วงละเมิดทีเดียว. พระธนิยะเถระ ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะ
เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้. ภิกษุที่เหลือ ผู้ล่วงละเมิดสิกขาบททำก็ดี ได้
กุฎีที่ผู้อื่นทำแล้วอยู่ในกุฎีนั้นก็ดี เป็นทุกกฏแท้แล. ส่วนกุฎีที่สร้างผสมด้วย
ทัพสัมภาระ จะเป็นของผสมด้วยอาการใด ๆ ก็ตาม ย่อมควร. กุฎีที่สำเร็จ
ด้วยดินล้วนนั่นแล ไม่ควร. ถึงแม้กุฎีนั้น ที่ก่อด้วยอิฐ โดยอาการเช่นกับ
โรงพักที่สร้างด้วยอิฐ ก็ควร.

[

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับสั่งให้ทำลายกุฎีเป็นอกัปปิยะ

]
หลายบทว่า เอวมฺภนฺเตติ โข ฯ เป ฯ ตํ กุฏีกํ ภินฺทึสุ ความว่า
ภิกษุเหล่านั้น รับพระพุทธาณัติแล้ว ก็เอาไม้และหินทำลายกุฎีนั้นให้กระจัด
กระจายแล้ว.